News Update :
Home » , » If-Sentence

If-Sentence

Penulis : Unknown on Wednesday, March 20, 2013 | 5:24 PM


If-Sentence หรือ Conditional Sentence เป็นประโยคที่สมมุติขึ้นมา คาดเดาเอา ว่าเกิดเหตุการณ์แรกแล้วเหตุการที่สองก็จะเกิดตามมา เนื่องจากประโยคลักษณะนี้ประกอบด้วยประโยคสองส่วน ซึ่งมีลักษณะเป็น Clause ประกอบด้วย โดยส่วนหนึ่งเป็น If-Clause และอีกส่วนหนึ่งเป็น Main Clause ดังตัวอย่าง
If I were you, I would marry her.
ส่วน If-Clause คือ If I were you. และส่วน Main Clause คือ I would marry her จากโครงสร้างดังกล่าวเราจึงนิยมเรียก If-Sentence หรือ Conditional Sentence อีกชื่อหนึ่งว่า If-Clause.
การแบ่งประโยคสองประโยคออกจากกันเราจะต้องใช้คอมม่า (,) ขั้น ถ้าหากเราวาง If-Cluase ไว้ก่อน Main Clause ดังตัวอย่างแรก แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราวาง If-Cluase ไว้หลัง Main Clause ไม่ต้องใช้คอมม่า (,) ขั้น เช่น I would marry her if I were you เป็นต้น
If-Clause ประกอบด้วยสี่บริบทที่เราสมมุติขึ้มาและแต่ละบริบทก็มีโครงสร้างประโยคที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
เงื่อนไขที่เป็นจริงเสมอ หมายความว่าถ้าประโยคที่เอ่ยถึงใน If clause เกิดขึ้นแล้วประโยคที่กล่าวถึงตามมาจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน หรือมีโอกาสเกิดขึ้นสูงมาก เช่น If you boil water it become to stream. โครงสร้างที่เราใช้กับเงื่อนไขประเภทนี้คือ

If + Present Tense,Present Tense

เงื่อนไขที่ไม่เป็นจริง หมายถึงเหตุการณ์ที่ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นจริง แต่แค่สมมุติขึ้นมา เรียนภาษาอังกฤษใหม่ๆ ส่วนตัวผมเองไม่เห็นความสำคัญของบริบทนี้เลย เพราะคิดว่าอ้าว แล้วถ้าไม่ใช่เรื่องจริงแล้วจะสมมุติขึ้นมาทำไม? แต่ความจริงแล้วบริบทนี้ถูกใช้มากไม่แพ้บริบทอื่นเลยทีเดียว เพราะเราใช้ประโยชน์ในการเทียบเคียง ในลักษณะ ถ้าผมเป็นคุณ ถ้าผมรวย ถ้าผมต้องอย่างงั้นอย่างนี้ เยอะมาก ดังนั้นเราควรฝึกใช้โครงสร้างนี้ให้แม่นยำครับ เหมือนตัวอย่างแรกครับ If I were you, I would marry her. ซึ่งโครงสร้างประโยคที่เราใช้กับเงื่อนไขแบบนี้คือ
If + Past tense, Subject + would + V 1.
ข้อกำหนดสำคัญสำหรับโครงสร้างนี้คือถ้าประธานในประโยค Past Tense เป็นอะไรก็ตามเราจะใช้ Verb to be "were" เสมอครับ จำให้แม่น!
เงื่อนไขที่ไม่แน่ว่าจะเป็นจริงเสมอไป กล่าวคือถ้าประโยค If-Clause เกิดขึ้นก็ยังไม่แน่ว่า Main Clause จะเกิดขึ้นตามซึ่งไวยากรณ์ภาษาอังกฤษยังได้แยกระดับความมั่นใจของผู้พูดโดยโครงสร้างอีกด้วย คือ
เมื่อผู้พูดมีความมั่นใจมากว่าเหตุการณ์ตามมาจะเกิดขึ้น จะใช้โครงสร้างดังนี้
If + Present Tense, Subject + will + V 1
ตัวอย่างเช่น If you study hard, you will pass the examination.
แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้พูดก็ยังไม่มั่นใจว่าเหตุการณ์ตามมาจะเกิดขึ้นจริง เราจะใช้โครงสร้างนี้แทนครับ
If + Past Tense, Subject + would + V 1
ตัวอย่างเช่น If you studied hard, you would pass the examination.
ทั้งสองประโยคความหมายเดียวกันครับแต่ประโยคแรกความมั่นใจของผู้พูดมีมากกว่า เท่านั้นเอง
เงื่อนไขในบริบทสุดท้ายคือเงื่อนไขซึ่งตรงกันข้ามกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นแล้ว ประโยคแบบนี้ตรงกับภาษาบ้านๆ ประมาณว่า ถ้ารู้ว่าจะเป็นแบบนี้เราทำยังงั้นดีกว่านะ อะไรทำนองนี้แหล่ะ (แปลไปเองทั้งนั้น) เราจะใช้โครงสร้างดังนี้
If + Past perfect tense, Subject + would have + V 3.
ตัวอย่างเช่น If I had gone to the party last night, I would have seen you. อะไรยังงี้แหล่ะ
Share this article :

Post a Comment

 
Design Template by panjz-online | Support by creating website | Powered by Blogger