Transitive Verb หรือสกรรมกริยาหมายถึงกริยาที่จำเป็นต้องมีกรรม
หรือเรียกหากรรม
ดังนั้นกรรมจะมีความสำคัญกับกริยากลุ่มนี้มากเนื่องจากว่าถ้าหากขาดกรรมไปแล้วกริยาเหล่านี้จะให้ความหมายไม่สมบูรณ์เสร็จแล้วผู้ฟังต้องถามอะไรต่ออีกแน่นอนอย่างเช่น
I kick ประโยคนี้ประกอบด้วยประธาน (I) กับกริยา
(kick) เท่านั้นทำให้ความหมายยังคลุมเครืออยู่เพราะไม่ว่าผู้พูดแตะ
(kick) อะไรนั่นเอง ถ้าจะให้สมบูรณ์จำเป็นต้องพูดว่า I
kick football ซึ่งในที่นี้ football ซึ่งเป็นคำนามและทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา
kick นั่นเอง
เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้วสิ่งที่เราจำเป็นต้องรู้อีกอย่างหนึ่งคืออะไรบ้างที่สามารถนำมาทำเป็นกรรมเพื่อให้ประโยคประเภทนี้สมบูรณ์ได้
คำตอบก็คือนาม (Noun) หรือคำที่ทำหน้าที่อย่างนามนั่นเอง
ซึ่งสามารถแยกคร่าวได้ดังนี้
คำนามทั่วๆไปซึ่งเป็นไปได้ทั้งนามที่นับได้และนามที่นับไม่ได้
เช่น I
kick football ซึ่ง football คือนามที่นับได้ที่มาทำหน้าที่เป็นกรรม
และอีกตัวอย่างนึงคือ I want sugar ซึ่ง sugar เป็นนามที่นับไม่ได้ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมเป็นต้น
Accusative หรือกรรมวาจกซึ่งคำนามกลุ่มนี้ทำหน้าที่เป็นกรรมอยู่แล้ว
(กลับไปดูเรื่อง Personal Pronoun ด่วน) ซึ่งประกอบไปด้วย me, us, you, him, her, it และ them
เช่น I ask them (ประโยคนี้ถือว่าสมบูรณ์แล้วนะครับ
เพราะรู้แล้วว่าผมถามใคร ส่วนถามเรื่องอะไรนั้นไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ)
Gerund (กิริยาที่เติม ing ) ที่ถูกนำมาใช้อย่างนามครับเช่น I like writing ผมชอบการเขียน
writing (การเขียน) เป็นกรรมของ like ครับ
และสุดท้ายครับคือ to infinite หรือกิริยาช่องที่หนึ่งที่มี to นำหน้านั่นเองครับเช่น I like to play เป็นต้น
Post a Comment