None-Finite Verb กริยาไม่แท้
คือกริยาที่ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างกริยา พูดง่ายแต่เข้าใจอยากและมีกฎการใช้ต่างๆ
ที่ต้องปฏิบัติตามและต้องจำอยู่มากเลยทีเดียว (วุ่นวายกว่ากริยาแท้ๆ ซะอีกขอบอก)
เพราะว่ากริยานี้ไม่ใช่กริยาแท้ของประโยคมันจึงไม่จำเป็นต้องผันรูปไปตาม ประธาน
กาล หรือวาจกแต่อย่างใด ตัวอย่าง เช่น
I want to go home. / ฉันต้องการจะกลับบ้าน
ในประโยคนี้ประธานจะเป็น I กริยาแท้ของประโยคคือ want ส่วน go คือกริยาที่มี to นำหน้าจะไม่เปลี่ยนรูปประธาน กาล
หรือ วาจกไป เราจึงเรียกมันว่ากริยาไม่แท้
He wants to go home
He wants to go home
He wanted to go home
จากทั้งสองประโยค ประโยคแรกเป็น Present
simple tense ส่วนประโยคหลังเป็น Past simple tense เราจะเห็นว่าทั้งสองมีประธานเป็น I เหมือนกัน
ประโยคแรกมีกริยา want ส่วนประโยคหลังมีกริยา wanted ตามด้วย to go home เหมือนกันดังนั้นเราจึงสามารถสรุปว่าตัวไหนเป็น
Finite (กริยาแท้) หรือ None-Finite (กริยาไม่แท้)
ได้ดังนี้
Want มีการเปลี่ยนรูปไปตามกาลของประโยคเป็น Finite
(กริยาแท้) ส่วน Go ถึงแม้ว่าจะเป็นคำกริยาแต่ในที่นี้ไม่ได้นำมาใช้อย่างกริยาแท้ตามหลักไวยากรณ์
สังเกตว่ามันไม่ได้เปลี่ยนรูปไปตามการเหมือน want เปลี่ยนไปเป็น
wanted แต่อย่างใด โดยปกติเราสามารถจำแนก None-Finite
verb ออกได้เป็นสามประเภทคือ
- Infinitive ซึ่งหมายถึงกริยาที่มี to นำหน้า
- Gerund หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของ verb เติม ing
- Participle ซึ่งประกอยด้วย Present Participle และ Past Participle
Post a Comment