News Update :

Gerund

Penulis : Unknown on Saturday, March 30, 2013 | 5:14 PM

Saturday, March 30, 2013


Gerund หรือกริยาช่องที่หนึ่งเติม ing นั่นเอง ที่ซึ่งเรานำมาใช้กันอย่างนาม (คล้ายกับ infinitive เลย แล้วตูจะงงไหม๊เนี่ยว่ามันจะใช้ต่างกันยังไง? เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวจริงๆ) ซึ่งเรามีวิธีนำมาใช้คร่าวๆดังนี้
เราจะนำ Gerund มาใช้ทำหน้าที่ประธานในประโยค เช่น Writing is the good method to improve English skill / การเขียนเป็นวิธีที่ดีในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ครับเราใช้ Gerund (writing) เป็นประธานในประโยคนี้
เราจะนำ Gerund มาใช้เป็นกรรมของกริยาในประโยค My wife stop cooking / ภรรยาผมหยุดทำอาหาร ในที่นี้เราใช้ Gerund (cooking) เป็นกรรมของกริยา stop
comments | | Read More...

Double or Do not Double Consonants?

Double or Do not Double Consonants?  เนื่องจากกริยาในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษมีความสำคัญมากเพราะเราจะใช้ในการกำหนด Tense (กาล) โดยการผันรูปกริยา เป็นรูปต่างๆ เช่นรูป Past (กริยาช่องที่สอง) Past Participle (กริยาช่องที่สาม) ซึ่งประกอบด้วย Regular Verb ที่เราทำการผันรูปโดยการเติม ed และอีกกลุ่มหนึ่งก็คือ Irregular Verb ที่ทำการผันรูปโดยการเปลี่ยนรูปไปเลย  นอกจากรูปแบบของ Past และ Past Participle แล้วยังมีรูปแบบของ Gerund และ Present Participle ที่เราจะทำการเติม ing ให้กับกริยาเพื่อนำมาใช้อย่างนาม (Gerund) และใช้ในโครงสร้าง Continuous tense ต่างๆ (Present Participle)
ปัญหาที่สับสนวุ่นวายอีกอย่างหนึ่งในการผันรูปกริยาโดยการเติม ed (Regular Verb สำหรับ Past และ Past Participle) และ ing (สำหรับ Gerund และ Present Participle) คือการ double consonants หรือการเติมพยัญชนะเข้าไปตัวหนึ่งก่อน ซึ่งพอมีแนวทางคร่าวๆดังนี้
comments | | Read More...

Participle

Penulis : Unknown on Friday, March 29, 2013 | 10:53 PM

Friday, March 29, 2013


Participle คือคำนามที่ผันรูปมาจากกริยาและทำหน้าที่กึ่งกริยาและกึ่งคุณศัพท์ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นสองอย่างคือ Present Participle (หมายถึงกริยาที่ผันรูปโดยการเติม ing) และ Past Participle  (หมายถึงกริยาช่องที่สามที่ผันรูปโดยการเติม ed )
Present participle หมายถึงกริยาช่องที่หนึ่งเติม ing และทำหน้าที่กึ่งกริยากึ่งคุณศัพท์ มีความหมายว่ากริยานั้นกำลังกระทำอยู่ (หมายถึง Continuous tense ต่างๆนั่นเหล่ะครับ) ซึ่งเราจะใช้ในกรณีต่างๆ ดังนี้
comments | | Read More...

Infinitive Verb



Infinitive เป็นคำกริยาที่เราไม่นำมาใช่อย่างกริยาแท้ๆ เพราะว่ามันจะไม่เปลี่ยนรูปตาม ประธาน กาล หรือ วาจก แต่รูปของกริยานี้จะเป็นกริยาช่องที่หนึ่ง ที่มี to นำหน้า ยกเว้นมันถูกนำไปใช้ในสถานการณ์ดังต่อไปนี้ (กฎอีกแล้ว) มันจะใช้รูปกริยาช่องที่หนึ่ง(เท่านั้นโดยไม่มี to) และมันจะยังไม่เปลี่ยนรูปตามประธาน กาล และวาจก เหมือนเดิม
สถานการณ์แรกที่จะไม่มี to นำหน้าเมื่อมันถูกวางไว้หลังกริยาช่วยบางตัวต่อไปนี้ do, does, did, will, would, shall, should, can, could, may, might, must, dare, และ need
I dare not claim to my customer / ผมไม่กล้าที่จะร้องเรียนไปยังลูกค้า
comments | | Read More...

None-Finite Verb

None-Finite Verb กริยาไม่แท้ คือกริยาที่ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างกริยา พูดง่ายแต่เข้าใจอยากและมีกฎการใช้ต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติตามและต้องจำอยู่มากเลยทีเดียว (วุ่นวายกว่ากริยาแท้ๆ ซะอีกขอบอก) เพราะว่ากริยานี้ไม่ใช่กริยาแท้ของประโยคมันจึงไม่จำเป็นต้องผันรูปไปตาม ประธาน กาล หรือวาจกแต่อย่างใด ตัวอย่าง เช่น
I want to go home. / ฉันต้องการจะกลับบ้าน
ในประโยคนี้ประธานจะเป็น I กริยาแท้ของประโยคคือ want ส่วน go คือกริยาที่มี to นำหน้าจะไม่เปลี่ยนรูปประธาน กาล หรือ วาจกไป เราจึงเรียกมันว่ากริยาไม่แท้
comments | | Read More...

Finite Verb


Finite Verb กริยาแท้ หมายถึงกริยาที่นำมาทำหน้าที่อย่ากริยาจริงๆ (อย่าพึ่งด่านะครับ เพราะมันมีกริยาที่เราไม่ได้นำมาใช้อย่ากริยาด้วย) ดังนั้นส่วนนี้จึงเป็นส่วนสำคัญที่เราจะต้องศึกษาทำความเข้าใจกันอีกยาวและมันก็จะแทรกอยู่กับทุกๆเรื่อง ตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษนั้นคำกริยาแท้ของประโยคจะต้องผันไปตามรูปประโยคต่างๆ (ซึ่งนี่คือความยากของมัน) เช่นผันไปตาม ประธาน (Subject) ผันไปตามกาล (Tense) หรือผันไปตามวาจก (Voice) เพื่อบอกว่าที่เรากำลังใช้นั้นคือประโยคอะไร กาลอะไร และถ้าหากเราใช้ผิดอาจจะทำให้ความหมายที่เราต้องการสื่อสารนั้นผิดเพี้ยนไปเลยก็ได้ ตัวอย่างประโยคเช่น
comments | | Read More...

Intransitive Verb


Intransitive Verb (อกรรมกริยา) คือกริยาที่ไม่ต้องการกรรมนั่นเอง หรือสามารถพูดอีกแบบหนึ่งได้ว่าเป็นกริยาที่ไม่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับก็ให้ความหมายชัดเจนอยู่แล้ว หรือพูดฟังไม่จำเป็นถามอะไรต่ออีก ซึ่งกริยาที่ไม่เรียกหากรรมก็อย่างเช่น
comments | | Read More...

Transitive Verb

Penulis : Unknown on Thursday, March 28, 2013 | 11:29 PM

Thursday, March 28, 2013


Transitive Verb หรือสกรรมกริยาหมายถึงกริยาที่จำเป็นต้องมีกรรม หรือเรียกหากรรม ดังนั้นกรรมจะมีความสำคัญกับกริยากลุ่มนี้มากเนื่องจากว่าถ้าหากขาดกรรมไปแล้วกริยาเหล่านี้จะให้ความหมายไม่สมบูรณ์เสร็จแล้วผู้ฟังต้องถามอะไรต่ออีกแน่นอนอย่างเช่น I kick ประโยคนี้ประกอบด้วยประธาน (I) กับกริยา (kick) เท่านั้นทำให้ความหมายยังคลุมเครืออยู่เพราะไม่ว่าผู้พูดแตะ (kick) อะไรนั่นเอง ถ้าจะให้สมบูรณ์จำเป็นต้องพูดว่า I kick football ซึ่งในที่นี้ football ซึ่งเป็นคำนามและทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา kick นั่นเอง
เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้วสิ่งที่เราจำเป็นต้องรู้อีกอย่างหนึ่งคืออะไรบ้างที่สามารถนำมาทำเป็นกรรมเพื่อให้ประโยคประเภทนี้สมบูรณ์ได้ คำตอบก็คือนาม (Noun) หรือคำที่ทำหน้าที่อย่างนามนั่นเอง ซึ่งสามารถแยกคร่าวได้ดังนี้
comments | | Read More...

Personal Pronoun บุรุษสรรพนาม

ผมถามตัวเองตั้งหลายครั้งว่าเฮ้ย! เราควรจะเขียนเรื่องนี้หรือเปล่า? แต่เหตุการณ์เช้าเมื่อวานนี้ทำให้ผมเลิกลังเลและตื่นแต่เช้ามาเพื่อที่จะเขียนเรื่องบุรุษสรรพนามที่ใช้ในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ อย่างไรนะหรือ? เช้าเมื่อวานนี้ staff (ไม่ใช่พนักงานระดับปฏิบัติการด้วย ทำให้ผมรู้สึกเจ็บปวดพอสมควรว่าภาษาอังกฤษของพนักงานคนไทยเป็นอย่างที่เค๊าสำรวจกันจริงๆ) ใน office ของผมเดินมาหาเจ้านายชาวต่างชาติเรื่องอะไรไม่รู้ล่ะผมได้ยินแต่ว่า After me check data bla bla bla…. โอ้แม่เจ้า! มันใช้สรรพนาแทนตัวมันเองผิด me เขาใช้เป็น Accusative (กรรมวาจก) กัน มันเอามาใช้เป็นประธานได้ไงเนี่ย ไม่เกรงใจเจ้าของภาษาเลย นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมต้องรีบโพสต์เรื่องนี้ Please, do not make a terrible mistake again!
comments | | Read More...

กลุ่มกิริยาที่ไม่นิยมนำมาใช้ใน Continuous ต่างๆ

ในการใช้งาน Continuous Tense เราจะพบว่ามันมีกริยาบางกลุ่มที่เราจะไม่ใช้ ซึ่งประกอบด้วยกริยากลุ่มที่แสดงความรู้สึก กลุ่มที่แสดงการรับรู้ และกลุ่มทั่วๆไปซึ่งพอจะสรุปได้ดังตารางข้างล่าง

กลุ่มแสดงการรับรู้

Appear
ปรากฏ
Hear
ได้ยิน
Look
ดูเหมือนว่า
See
พบเห็น
Seem
ดูเหมือนว่า
Smell
ได้กลิ่น
Sound
ออกเสียง
Taste
รู้รส

กลุ่มแสดงสภาวะทางจิตใจ หรือแสดงความรู้สึก
comments | | Read More...

Going to and gonna


"Going to and gonna" โครงสร้างของประโยคแสดงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนอกจากเราจะใช้กิริยาช่วย will หรือ shall แล้วยังมีอีกโครงสร้างประโยคนึงที่เราใช้กันมากนั่นก็คือ Subject + verb to be (is, am, are) + going to + V1 ซึ่งที่เราจะเห็นในภาษาพูดคือโครงสร้าง Subject + verb to be (is, am, are) + gonna + V1 ซึ่งเราจะใช้ gonna แทน going to ถ้าเราดูหนังฝรั่งเสียง sound track หรือฟังเพลงเราจะได้ยินบ่อยมาก ผมพูดอย่างไม่อายว่าผมพึ่งรู้จักใช้คำว่า gonna และ wanna (เดี๋ยวจะอธิบายทีหลังครับ) เมื่อไม่เกินสี่ปีย้อนหลังกลับไปนี่เอง
comments | | Read More...

Future Perfect Continuous Tense

Penulis : Unknown on Wednesday, March 27, 2013 | 5:31 PM

Wednesday, March 27, 2013

Future Perfect Continuous Tense อนาคตกาลสมบูรณ์กำลังกระทำอยู่ เป็น Tense ฟุ่มเฟื่อยอีก Tense นึงเหมือนกันครับ ก็ลองดูชื่อซิครับสมบูรณ์กำลังกระทำอยู่ (สมบูรณ์แล้ว จะยังกระทำอยู่ได้ไงหว่า? ฮ่าๆๆ อันนี้แซว Grammar ฝรั่งเฉยๆ ครับไรสาระ) ฟังแล้วสับสน อย่างไรก็ตามเพื่อความสมบูรณ์ของไวยากรณ์ก็ต้องรู้ให้หมดไว้ก่อนใช้ไม่ใช้ว่ากันอีกที (แนะนำให้ใช้ครับถ้ามีโอกาสเพราะจะได้ฝึกฝนไปด้วยตาม concept ของบล็อกเราครับฮุๆๆ) มาดูโครงสร้างกันก่อนดีว่าครับ

Subject + will, shall + have been + V ing
comments | | Read More...

Future Perfect Tense


Future Perfect Tense  อนาคตกาลสมบูรณ์ Tense นี้จะมีความคล้ายคลึงกับ  Past perfect tense อยู่บ้างซึ่งผมเองใช้สอง Tense นี้เทียบเคียงกันอยู่เรื่อยในการจำหลักการใช้ เนื่องจากว่า Tense นี้จะกล่าวถึงเหตุณ์การที่จะจบลงแล้วอย่างสมบูรณ์ในอนาคตเวลาใดเวลาหนึ่งซึ่งเราสามารถระบุได้ชัดเจน ส่วน Past perfect tense นั้นเราจะใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่จบลงแล้วอย่างสมบูณร์ในอดีตเวลาใดเวลาหนึ่งซึ่งเราก็ต้องบอกเวลาได้อย่างชัดเจนเหมือนกัน (เพราะมันเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้วต้องมีเวลาบอกว่าสมบูรณ์เมื่อไหร่) โครงสร้าง Tense นี้เป็นดังนี้ครับ
comments | | Read More...

Future Continuous Tense

Penulis : Unknown on Tuesday, March 26, 2013 | 6:33 AM

Tuesday, March 26, 2013

Future Continuous Tense อนาคตกำลังกระทำอยู่ สำหรับ Tense นี้ทำการเทียบเคียงง่ายๆ กับ Past continuous tense ครับ เราไปดูโครงสร้าง Tense ก่อนดีกว่าครับ

Subject + will, shall + be + V ing

กิริยาที่ใช้ในโครงสร้างของ Tense นี้คือ Present Perticiple ครับ และที่ผมแนะนำให้เทียบเคียงกับ Past continuous ทำไมนะหรอครับ Let’s see!
comments | | Read More...

Future Simple Tense

Future Simple Tense อนาคตกาลธรรมดา (และแล้วเราก็เดินทางมาถึงกลุ่ม Tense สุดท้าย) เป็น Tense ที่ใช้กันอย่างสะบั่นหั่นแหลกเหมือนกัน โดยเฉพาะคนไทยได้ไม่ได้ไม่รู้กรูรับปากไว้ก่อน I will! ครับเราใช้ Tense นี้ได้ถ้าเราจะกล่าวถึงการกระทำหรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีโครงสร้างดังนี้ครับ

Subject + will, shall + V 1

โครงสร้างง่ายไหม๊ครับ? ผมจะบอกว่าง่ายยิ่งกว่านั้นไปอีก เพราะว่าปัจจุบันนี้การใช้ will นิยมใช้กับประธานทุกตัวอีกไม่ต้องกังวลใจว่าจะใช้ผิด เพราะเราจะเห็นอยู่ทั่วไปว่ามีการใช้ will กับประธานบุรุษที่หนึ่งนั่นก็คือ I และ We (ตามโครงสร้างที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์แล้วประธานที่เป็นบุรุษที่หนึ่ง ซึ่งมี I กับ We เราจะใช้กับกริยาช่วย shall ส่วนประธานตัวอื่นๆเราจะใช้ will แต่ปัจจุบันนี้ความเข้มค้นของกฎนี้ลดลงครับ เราจะเห็นจากบทความภาษาอังกฤษต่างๆ ตอนนี้หา shall แทบไม่ได้แล้ว) เรามาดูตัวอย่างการใช้งานกันครับ
comments | | Read More...

Past Perfect Continuous Tense

Past Perfect Continuous Tense อดีตกาลสมบูรณ์ที่กำลังกระอยู่ Tense นี้ก็เป็นอีก Tense ที่ถูกเก็บขึ้นหิ้งไปนานแล้ว (เอาเป็นว่าผมไม่เคยเห็น Tense นี้ถูกใช้มาในช่วงสองปีที่ผมเริ่มอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ) สำหรับผู้ที่ต้องการฝึกฝนภาษาอังกฤษที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือชีวิตการทำงานผมว่าไม่น่าจะต้องกังวลกับ Tense นี้ให้มาก แต่น้องๆที่ต้องการฝึกฝนเพื่อสอบ Grammar ก็ยังต้องจำเป็นอยู่นะครับยินดีด้วย งั้นเราไปดูโครงสร้างกันก่อนนะครับ

Subject + had been + V ing
comments | | Read More...

Past Prefect Tense


Past Prefect Tense อดีตกาลสมบูรณ์ ง่ายๆหมายถึงเกิดขึ้นแล้วอย่างสมบูรณ์ในอดีต Tense นี้ไม่ค่อยจะใช้กันพร่ำเพรื่อเพราะว่าการใช้เน้นการสิ้นสุดอย่างสิ้นเชิงที่เกิดขึ้นในอดีต กริยาแท้ของ Tense นี้จะอยู่ในรูป Past Participle หรือกิริยาช่องที่สาม ส่วนกริยาช่วยคือ had ซึ่งเป็นช่องที่สองของ have/has ดังโครงสร้างต่อไปนี้

Subject + had + V 3

กริยาช่องที่สามมีการผันรูปโดยการเติม ed สำหรับ Regular verb และมีการเปลี่ยนรูปสำหรับ Irregular verb ซึ่งเราได้พูดไว้แล้วใน Present Perfect Tense ในที่นี้เราจะมาดูเฉพาะหลักการใช้ของ Past perfect tense ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
comments | | Read More...

Past Continuous Tense

Penulis : Unknown on Monday, March 25, 2013 | 7:00 PM

Monday, March 25, 2013


Past Continuous Tense กาลที่กำลังกระทำในอดีต ใครจะว่ายังไงก็แล้วแต่ ผมว่า Tense นี้เป็น Tense ที่สวยงามในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ตอนที่ผมเรียนภาษาอังกฤษใหม่ๆ อาจจะเนื่องจากไม่ฉลาดหรือยังไงก็ไม่รู้ผมจะรู้สึกว่า กำลังกระทำก็คือกำลังกระทำ อดีตจะกำลังกระทำได้ไง มันต้องจบไปแล้วซิ?? แต่หลังจากที่ทำความเข้าใจ Tense นี้แล้วจุดใหญ่ใจความมันอยู่ที่การระบุเวลาอย่างชัดเจนนั่นเอง ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็ประมาณว่า ผมกำลังว่ายน้ำอยู่ตอนห้าโมงเย็นเมื่อวานนี้ แปลยังงี้ถึงบางอ้อครับ! I was swimming at 5:00pm yesterday เอาล่ะครับก่อนที่จะเยอะไปกว่านี้เรามาดูโครงสร้างของ Tense กันก่อนดีกว่า
Subject + was, were + V ing
comments | | Read More...

Present Perfect Continuous Tense

Present Perfect Continuous Tense ปัจจุบันกาลสมบูรณ์แต่กำลังกระทำอยู่ Tense นี้เป็น Tense ที่ไม่ค่อยใช้งานกันสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะใช้ Present Perfect Tense กันมากกว่า แต่ตามหลักไวยาการณ์ภาษาอังกฤษ Tense นี้ถูกบัญัติไว้ ดังนั้นเราก็ไม่ควรละเลยเช่นกัน โครงสร้างของ Tense นี้แสดงไว้ในกรอบข้างล่าง

Subject + has, have + been + V ing
comments | | Read More...

Present Continuous Tense

Present Continuous Tense เป็นกาลที่แสดงปัจจุบันที่กำลังกระทำอยู่ คำกริยาที่ใช้ใน Tense นี้คือ Verb to be + Present participle หรือ Verb เติม ing นั่นเอง โดยมีโครงสร้างดังนี้

Subject + is, am, are + Verb (ing)

ซึ่งความยากของ Tense นี้คือการผันกริยาจากรูปเดิมให้อยู่ในรูปของ Present participle หรือการเติม ing ให้กริยานั่นเอง ซึ่งก่อนที่เราจะไปศึกษาหลักการใช้ของ Tense นี้ เราจึงควรทำความเข้าใจการผันรูปกริยาซะก่อน ซึ่งมันมีหลักการต่างๆพอสรุปได้ดังนี้
comments | | Read More...

Past Simple Tense

Past Simple Tense อดีตกาลธรรมดา Tense นี้เป็นอีก Tense นึงที่ใช้กันเยอะมาก เกลื่อนเลยก็ว่าได้และกริยาที่ใช้ใน Tense นี้ก็สร้างความปวดหัวให้ผู้ใช้งานเหมือนกันเพราะกริยาที่ใช้เป็นกริยาช่องที่สอง ซึ่งมีทั้ง Regular verb และ Irregular verb ซึ่งโครงสร้างประโยคของ Tense นี้แสดงในกรอบข้องล่าง

Subject + V 2

เนื่องจาก Irregular Verb นั้นเราไม่มีสูตรตายตัวในการเปลี่ยนเป็นกริยาช่องที่สอง ต้องอาศัยการใช้งานบ่อยๆ ผมจึงไม่ขอเขียนไว้ที่นี่ก็แล้วกัน (ผมแนะนำให้หาตารางสรุปรวมมาไว้อ้างอิงจะเป็นการดีที่สุด) ในที่นี้ผมขอเขียนเฉพาะวิธีผันรูปกริยาเป็นช่องสองโดยการเติม ed ก็แล้วกัน
comments | | Read More...

Present Perfect Tense

Present Perfect Tense ปัจจุบันกาลสมบูรณ์ เป็น Tense ที่บอกว่าการกระทำนั้นๆ หรือ กิริยานั้นๆ ได้เกิดขึ้นและจบลงแล้วใหม่ๆ หรือบางคนจะบอกว่าการกระทำนั้นส่งผลมาถึงขณะที่พูดด้วยก็ใช่ครับ โครงสร้างประโยคเป็นดังนี้ครับ

Subject + has, have + V 3

กิริยาที่ใช้ใน Tense นี้เราจะใช้ Past Participle หรือที่เรารู้จักกันในนามกิริยาช่องที่สามนั่นเองครับ ชึ่งเหมือนเดิมเราต้องทำการผันกิริยาก่อน งั้นเราไปดูการผันกิริยากันครับ
comments | | Read More...

A while and awhile

Penulis : Unknown on Sunday, March 24, 2013 | 10:30 PM

Sunday, March 24, 2013


ครับสองคำนี้สร้างความสับสนให้ผู้ใช้งานภาษาอังกฤษได้มากมายครับ! ใช่บางครั้งเราคิดว่ามันก็เหมือนกันนั่นแหล่ะ! แต่จริงๆแล้วสองคำนี้ต่างกันอย่างชัดเจน ยังไงนั่นเหรอครับ! Let’s see!
A while ทำหน้าที่เป็น Noun ครับ! เราจะสังเกตเห็นไหม๊ว่ามี article “A” อยู่ด้านหน้า while ซึ่ง while เองนั้นหมายถึงเวลา, ระยะ, ครู่ หรือประเดี๋ยว ดังนั้น a while จึงเป็นคำนามที่เราใช้กล่าวถึงเวลาที่เราสามารถระบุได้ชัดเจน เช่น
He sat for a while ซึ่งจะใช้ได้เหมือนกับ He sat for 5 minutes สามารถใช้ a while แทนได้เนื่องจากเป็นเวลาที่สามารถ specified ได้ เป็นต้น
comments | | Read More...

Basic word “Actually”


คำง่ายๆ ที่ถูกใช้กันอยู่อย่างกว้างขวาง คุณเข้าใจความหมายของ Actually ไหม๊ครับ? ผมมั่นใจว่าทุกคุณเคยใช้ เคยเปิด dictionary สำหรับคำๆนี้
ก่อนอื่นผมของแปลความหมายของคำก่อนก็แล้วกันนะครับ Actually บัญญัติไว้ใน Cambridge Advanced Learner’s Dictionary (Third Edition), Actually; Adverb, means in fact or really. เราจะใช้คำนี้ในการแสดงความความจริง (fact) ที่ตรงกันข้ามกับข้อมูลที่เราไม่เห็นด้วย (Contrast) หรือแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (Correct) เราจะใช้ในกรณีที่คนอื่นเข้าใจไม่ตรง อาจจะไม่ผิดทั้งหมดแต่เราต้องการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้คนอื่นมีความเข้าใจมากขึ้น
หรือในอีกรณีหนึ่งคำว่า Actually เป็นการส่งสัญญาณ (Signal) ว่าสิ่งที่เค๊ากำลังพูดเราไม่เห็นด้วย หรือผิด ตัวอย่างเช่น
comments | | Read More...

Raise versus rise


Rise versus raise, did you know the difference? If the answer is yes, just leave this post.
ครับ! สองคำนี้สามารถทำให้เราสับสนได้มากพอสมควรเพราะว่าสองคำนี้ต่างก็เป็นคำกริยาดัวยกัน แถมยังมีความหมายใกล้เคียงกันอีกต่างหากคือ move upwards เดี๋ยวเราจะไปดูทีล่ะคำกันครับว่าหน้าที่ของเค๊าเป็นยังไง
เริ่มจาก Raise ก่อนครับ Raise เป็นกริยาที่ต้องการกรรมมารองรับ (Transitive Verb) ซึ่งความหมายที่ให้ไว้ใน Cambridge Advanced Learner’s Dictionary (Third Edition) คือ; Raise [T] means LIFT; to lift something to a higher position เป็regular verb โดยมีช่องสอง และช่องสามเป็น raised และ raised มีลักษณะการใช้ดังนี้ I raise my hand; my hand เป็นกรรมของกริยา raise และอีกตัวอย่างนึ่ง If you do not understand, please raise your hand; your hand เป็นกรรมของกริยา raise เหมือนกันครับ
comments | | Read More...

Present Simple Tense

หลังจากอ่านโพสต์ที่ผ่านมาทำให้เราทราบถึงความสำคัญของ tense แล้วใช่ไหม๊ครับ เมื่อเราทราบแล้วจำเป็นต้องฝึกใช้ให้ถูกต้องยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้เราชินกับการใช้ Tense ผิดๆ หรือเดิมๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้แต่ล่ะ Tense เพื่อนำมาฝึกฝนต่อไปครับ
ใน Tense แรกนี้เราจะเริ่มจากปัจจุบันกาลธรรมดา (Present Simple Tense) กันก่อนก็แล้วกันนะ ซึ่ง Tense นี้เป็น Tense ที่ใช้กิริยาช่องที่ 1 (ซึ่งผมขอใช้ V1 แทนแล้วกัน) ในการกำหนด Tense แต่มีข้อแตกต่างจาก Tense อื่นในเรื่อง Subject Agreement นิดนึงคือ ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ (ยกเว้นบุรุษที่หนึ่ง I และ You) กิริยาก็ต้องอยู่ในรูปเอกพจน์ด้วยเช่นกันคือ กิริยานั้นต้องเติม s, หรือ es นั่นเอง แบบไหนเติมอะไรอยากให้คุณจำวิธีเติม es มากกว่าเพราะนอกเหนือจากนี้เติม s ไปได้เลย โดยมีวิธีการเติม es ดังนี้
comments | | Read More...

Tense

กาล (เวลา อันนี้ใส่เองฮุๆ) หรือ Tense เป็นเรื่องรูปแบบของกิริยาในประโยคที่จะแสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์นั้นเกิดเมื่อไหร่(เกิดขึ้นแล้ว กำลังเกิดขึ้น หรือว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต) จะเห็นว่าเรื่องของกาลในภาษาอังกฤษมีความสำคัญมากเช่น ถ้าสมมุติว่าเราใช้อนาคตกาล มาใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น Prime Ministerwill endorse agreement to Byanmar. จะทำให้เข้าใจผิดทันทีว่า นายกยังไม่ได้ลงนาม ยิ่งถ้าเราใส่ Adverb of time เข้าไปอีกงงตายเลย เช่น Prime Minister will endorse agreement to Byanmar yesterday. แล้วจริงๆเหตุการณ์มันเกิดขึ้นยังวะเนี่ย!จะให้ถูกต้อง Prime Minister endorsed agreement to Byanmar yesterday ประโยคแรกทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด และประโยคที่สองทำให้ผู้อ่านงง ส่วนที่ถูกต้องคือประโยคที่สามเห็นไหม๊ครับ เรื่องกาล หรือ Tense นี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆเหมือนกันเพราะโครงสร้างของกิริยาต่างๆ ไม่ได้เหมือนเดิม(มีการผันกิริยา) เช่น will endorse ในประโยคอนาคตกาลหรือendorsed ในประโยคอดีตกาล ในขณะที่ในภาษาไทยเราแค่ใช้คำว่า ลงนามแล้ว หรือ จะลงนาม ก็จบแล้ว แต่ไม่ต้องห่วงครับ ผมจะเขียนอย่างละเอียดโดยแยกเป็นกาลๆ ไปในแต่ละโพสต์คลิก Subcribeบล็อกของเราครับ แต่ในบทความนี้ผมอยากสรุปโครงสร้างของรูปแบบ Tenseที่ใช้กันทั้ง 12 tenses ก่อนครับ
comments | | Read More...

Between = 2 items, Among = 3+ items that is correct?



Between และ Among ทั้งสองคำนี้เป็นคำบุพบทภาษาอังกฤษและมีความหมายว่า ระหว่างแน่นนอนครับถ้าเราเปิด Dictionary เราจะได้ความหมายยังงี้ สมัยเรียนชั้นประถม (ยังจำได้อีกเนอะ) คุณครูที่รักก็จะบอกว่า Between นะเราจะใช้ในกรณีที่ ระหว่างของสองสิ่งนะคะ ส่วน Among เราจะใช้ในกรณีที่เราเปรียบเทียบของตั้งแต่สามสิ่งขึ้นไป กฎนี้เป็นกฎพื้นฐานที่ได้เรียนมา และ (ผม) ก็ยังใช้อยู่แต่ อย่างไรก็ตามกฎนี้มีข้อยกเว้นในการเปรียบเทียบของที่มีตั้งแต่สามสิ่งขึ้นไป กล่าวคือถึงแม้ว่าเราจะมีรายการที่เปรียบเทียบมากกว่าสองรายการแต่ไม่มีความสำพันธ์กันเราจะใช้ Between ไม่ใช่ Among ตัวอย่างเช่น Thailand has signed bilateral agreement between Malaysia, Philippines, Singapore, Laos, Brunei ครับประโยคนี้ใช้ between จะให้ความหมายว่า ประเทศไทยได้ลงนามในข้อตกลงทวิภาคีกับประเทศมาเลเซีย และในขณะเดียวกันก็ลงนามในข้อตกลงนี้กับ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ สปป.ลาว และบรูไน ซึ่งไม่มีการลงนามระร่าง ฟิลิปปินส์ กับ สิงคโปร์ หรือ สิงคโปร์ กับ มาเลเซีย ถ้าอย่างแบบนี้เราจะใช้ Between ครับ ขณะเดียวกันถ้าเป็นข้อตกลงที่ไม่ใช่ ทวิภาคีหรือตั้งแต่สามประเทศมาลงนามในข้อตกลงร่วมกันเราจะใช้ Among เช่น This regulation is an agreement among ASEN กฎข้อนี้เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิก ASEN เป็นต้น
comments | | Read More...
 
Design Template by panjz-online | Support by creating website | Powered by Blogger